ก่อนหน้านี้ซาอุดิอาระเบีย ประกาศเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติทวีปเอเชีย หรือรายการ เอเซียน คัพ 2027 เพียงชาติเดียว หลังจากสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย(เอเอฟซี) ขยายเวลาให้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลรายการนี้ออกไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.63 เดิมทีจะปิดรับการเสนอตัวไปเมื่อวันที่ 31 มี.ค.63 ที่ผ่านมา แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดหนักทำให้หลายชาติลังเล
ล่าสุดอินเดียกลายเป็นอีกชาติที่แสดงความจำนงในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลเอเซียน คัพ 2027 หรือว่าอีก 7 ปี ข้างหน้า โดยเรื่องนี้ได้รับการยืนยันจาก คูชาน ดาส เลขาธิการสมาพันธ์ฟุตบอลอินเดีย ว่าทางสมาพันธ์ฟุตบอลอินเดียให้ความใจในการเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลรายการที่ใหญ่ที่สุดของทวีปเอเชียและมีความพร้อมที่จะดำเนินการทันที
ก่อนหน้านี้ อินเดีย เคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลรายการนี้ในปี 2023 แต่ท้ายที่สุดสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชียเลือก จีน ในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน จึงทำการเสนอตัวในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันอีกครั้งในปี 2027 ที่น่าสนใจในช่วง 5 ปี หลัง อินเดีย กลายเป็นประเทศอันดับต้นๆของเอเชียที่จัดการแข่งขันฟุตบอลรายการทัวร์นาเมนต์ระดับทวีปและระดับโลกต่อเนื่องประกอบด้วย 16 ปี ชิงแชมป์เอเชีย 2016,17 ปี ชิงแชมป์โลก 2017,17 ปี หญิงชิงแชมป์โลก 2021 ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลเอเซียน คัพ อินเดีย ยังไม่เคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน
10 สนามแข่งขันของอินเดีย
– ซอล์ท เลค สเตเดี้ยม (เมืองโกลกาตา) 5,000 ที่นั่ง
– จาร์วาฮาร์ลาล สเตเดี้ยม (เมืองโคชิ) 60,500 ที่นั่ง
– จาร์วาฮาร์ลาล สเตเดี้ยม (เมืองนิวเดลี) 60,000 ที่นั่ง
– จาร์วาฮาร์ลาล สเตเดี้ยม (เมืองเชนไน) 40,000 ที่นั่ง
– สรี กันธีราวา สตเดี้ยม (เบงกาลูรู) 25,000 ที่นั่ง
– JRD ทาทา สปอร์ต คอมเพล็กซ์ (จัมเชดิปัวร์) 25,000 ที่นั่ง
– อินเดียรา กานดี้ สเตเดี้ยม (กูวาฮาตี) 23,850 ที่นั่ง
– ฟาตอร์ดา สเตเดี้ยม (เกา) 19,000 ที่นั่ง
– เชร์ชิพ สปอร์ตคอมเพล็กซ์ (พูเน่) 11,9000 ที่นั่ง
– มุมไบ ฟุตบอลอารีน่า (มุมไบ) 8,000 ที่นั่ง